Joomla gallery by joomlashine.com
Flash Head
01.jpg
02.jpg
03.jpg
04.jpg
05.jpg
06.jpg
07.jpg
08.jpg
09.jpg
10.jpg
สถานะการให้บริการประชาชนด้วยสาธารณูปโภคพลังงานไฟฟ้า ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดเพชรบุรี มีรายละเอียดดังนี้
1. จำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 199,306 ราย 706 หมู่บ้าน 93 ตำบล 8 อำเภอ มีผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี รับบริการกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอหัวหิน จำนวน 1
ตำบล 10 หมู่บ้าน 1,889 ราย (ตำบลป่าเด็ง)
2. มีการจำหน่ายกระแสไฟฟ้า ปี 2560 1,464,905,276 กิโลวัต์/ชั่วโมง
3. ระบบจำหน่ายสายส่ง 115 กิโลโวลต์ 81.68 วงจร-กม.
4. ระบบจำหน่ายแรงสูงระบบ 22 กิโลโวลต์ 2,350.48 วงจร-กม.
5. ระบบจำหน่ายแรงต่ำระบบ 400/230 โวลต์ 3,881.57 วงจร-กม.
มีสถานีจ่ายไฟทั้งหมด 7 สถานี ได้แก่ เพชรบุรี 1 ,เพชรบุรี 2 ,เขาย้อย 1 ,เขาย้อย 2 ,แก่งกระจาน ชะอำ 1 และชะอำ 2
มีสถานีผลิตน้ำ 2 แห่ง และสถานีจ่ายน้ำ 4 แห่ง คือ
มีกำลังการผลิตน้ำเฉลี่ยรวม 2,190,966 ลูกบาศก์เมตร/เดือน อัตราการจ่ายน้ำเฉลี่ยรวม 1,952,569 ลูกบาศก์เมตร/เดือน ปริมาณน้ำจำหน่าย 1,094,634 ลูกบาศก์เมตร/เดือน กำลังผลิตที่ใช้งาน 76,800 ลูกบาศก์เมตร/วัน มีผู้ใช้น้ำรวม 53,170 ราย
จังหวัดเพชรบุรีมีโครงการชลประทานที่สำคัญ ที่ดำเนินการจัดหาน้ำให้กับเกษตรกรเพื่อใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพและอุปโภคบริโภค ดังนี้
- โครงการชลประทานเพชรบุรี จำนวน 124,157 ไร่ รับน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 11 แห่ง อ่างเก็บน้ำขนาดเล็กพระราชดำริ 23 แห่ง และอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กถ่ายโอน 65 แห่ง
- โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพชรบุรี จำนวน 468,286 ไร่ รับน้ำจากอ่างเก็บน้ำแก่งกระจานและรับน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 2 แห่ง จำนวน 45,000 ไร่
- โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาราชบุรีฝั่งขวา จำนวน 86,000 ไร่ รับน้ำจากเขื่อนแม่กลอง จังหวัดกาญจนบุรี
ตารางที่ 3 อ่างเก็บน้ำที่สำคัญในจังหวัด
จังหวัดเพชรบุรี |
จำนวน (แห่ง) |
การกักเก็บน้ำ (ล้าน ลบ.ม.) |
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ |
1 |
710 |
อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง |
13 |
99.70 |
แหล่งน้ำขนาดเล็ก |
1,109 |
36 |
แหล่งที่มา : โครงการชลประทานเพชรบุรี
นอกจากนี้ จังหวัดเพชรบุรีมีพื้นที่ชลประทาน 678,943 ไร่ ซึ่งเท่ากับร้อยละ 17.46 ของพื้นที่จังหวัด โดยมีโครงการชลประทานที่สำคัญๆ ดังนี้ โครงการชลประทานเพชรบุรี จำนวน 124,157 ไร่ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพชรบุรี จำนวน 468,286 ไร่ และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาราชบุรีฝั่งขวา จำนวน 86,500 ไร่ และยังมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่จำนวน 1 แห่ง อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 13 แห่ง
สถานการณ์ให้บริการโทรศัพท์
1. ศูนย์บริการลูกค้า 4 แห่ง ได้แก่ สาขาเพชรบุรี สาขาท่ายาง สาขาชะอำ และสาขาเขาย้อย
2. ชุมสายโทรศัพท์ จำนวน 159 แห่ง ทีโอที 129 แห่ง ทีทีแอนด์ที 30 แห่ง
3. เลขหมายให้บริการ (ผู้ใช้และสาธารณะ) จำนวน 62,196 เลขหมาย ทีโอที 38,238 เลขหมาย บริษัทสัมปทาน 23,958 เลขหมาย
4. เลขหมายโทรศัพท์ที่มีผู้ใช้บริการ จำนวน 24,374 เลขหมาย ทีโอที 16,987 เลขหมาย บริษัทสัมปทาน 7,387 เลขหมาย
จังหวัดเพชรบุรีเป็นจังหวัดที่มีเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อกับภาคใต้และภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ การเดินทางเข้าสู่จังหวัดทำได้หลายทาง ดังนี้
หมายเลข 3171 เพชรบุรี-เขาบันไดอิฐ ระยะทาง 8 กิโลเมตร
หมายเลข 3172 ทางแยก อ.เขาย้อย-สถานีรถไฟเขาย้อย ระยะทาง 4 กิโลเมตร
หมายเลข 3173 เพชรบุรี-เขาหลวง ระยะทาง 3 กิโลเมตร
หมายเลข 3174 เพชรบุรี-บ้านท่า ระยะทาง 41 กิโลเมตร
หมายเลข 3175 ท่ายาง-เขื่อนเพชร ระยะทาง 10 กิโลเมตร
หมายเลข 3176 เพชรบุรี-บ้านแหลม (ฝั่งตะวันตก) ระยะทาง 15 กิโลเมตร
หมายเลข 3177 เพชรบุรี-หาดเจ้าสำราญ ระยะทาง 17 กิโลเมตร
หมายเลข 3178 เพชรบุรี-บ้านแหลม (ฝั่งตะวันออก) ระยะทาง 15 กิโลเมตร
หมายเลข 3179 เพชรบุรี-บ้านลาด ระยะทาง 6 กิโลเมตร
หมายเลข 3187 เพชรบุรี-ปึกเตียน ระยะทาง 27 กิโลเมตร
หมายเลข 3499 เขื่อนเพชร-แก่งกระจาน ระยะทาง 27 กิโลเมตร
หมายเลข 3349 แยกหนองควง-หนองหญ้าปล้อง ระยะทาง 24 กิโลเมตร
มีขบวนรถขึ้น - ล่องผ่านจังหวัดเพชรบุรี วันละประมาณ 24 ขบวน ระยะทาง 167 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ สามารถขึ้นรถไฟได้ที่สถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) และสถานีธนบุรี (บางกอกน้อย) สถานีรถไฟที่สำคัญในเขตจังหวัดเพชรบุรี คือ สถานีเพชรบุรี สถานีเขาย้อย และสถานีชะอำ
จังหวัดเพชรบุรี มีที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน 10 แห่ง ที่ทำการไปรษณีย์อนุญาตเอกชน จำนวน 24 แห่ง ไปรษณีย์รถยนต์ จำนวน 1 แห่ง และร้านไปรษณีย์ไทย (ปณร.เพชรบุรี 201 ต้นมะม่วง) จำนวน 1 แห่ง
เพื่อให้บริการด้านสื่อสารไปรษณีย์ บริการการเงิน บริการธุรกิจขนส่งและธุรกิจค้าปลีก
มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ประกอบด้วย
จังหวัดเพชรบุรี มีสถานบริการสาธารณสุขของภาครัฐและเอกชน ดังนี้
1.10) ข้อมูลด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
1. กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ค่ายนเรศวร อ.ชะอำ
2. กองกำกับการ 1 กองบังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตะเวนชายแดน ค่ายพระรามหก อ.ชะอำ
3. กองกำกับการ 7 กองบังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ค่ายศรียานนท์ อ.ชะอำ
4. กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดน 144 กองกำกับการตำรวจตะเวนชายแดนที่ 14 อ.หนองหญ้าปล้อง
จังหวัดเพชรบุรีมีสภาพทางธรรมชาติและภูมิประเทศอันสวยงามหลากหลายทั้งภูเขา ป่าทึบ ที่ราบ ลุ่มแม่น้ำ ตลอดจนชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย จึงส่งผลให้จังหวัดเพชรบุรีมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายและสมบูรณ์กว่าจังหวัดอื่นไม่ว่าจะเป็นชายหาด ทะเลอันสวยงาม น้ำตก ถ้ำ ป่า เขา ที่ยังคงธรรมชาติอันงดงาม ตลอดจนทะเลสาบน้ำจืด ขนาดใหญ่ที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติของแมกไม้
สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบุรี สามารถจำแนกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
ความโดดเด่นด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดเพชรบุรี
l แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
ชายหาดชะอำ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติอยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบุรี 41 กิโลเมตร แต่เดิมเป็นเพียงตำบลหนึ่งแต่ภายหลังจากที่หัวหินมีชื่อเสียง ที่ดินบริเวณชายทะเลถูกจับจองหมด เจ้านายและขุนนางสมัยนั้นจึงหาที่พักผ่อนแห่งใหม่ สมเด็จฯ กรมพระนราธิปพันธ์พงศ์ได้เสด็จมาทรงพบว่าชายหาดชะอำเป็นชายหาดที่สวยงามไม่แพ้หัวหิน จึงทำให้ชะอำเป็นที่รู้จักตั้งแต่นั้นมา
หาดเจ้าสำราญ อยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบุรีประมาณ 15 กิโลเมตร ในอดีตเป็นหาดที่มีความสะอาด สวยงามและเป็นสถานที่ที่กษัตริย์ในสมัยอยุธยาหลายพระองค์ รวมทั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
และสมเด็จพระเอกาทศรถเคยเสด็จมาประทับแรม และในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 6 ก็ทรงโปรดปรานที่แห่งนี้มากถึงกับทรงสร้างพระตำหนักเจ้าสำราญขึ้นด้วยเหตุนี้จึงได้ชื่อว่า “หาดเจ้าสำราญ”
หาดปึกเตียน เป็นสถานที่อาจเรียกได้ว่าเป็นเพชรอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรี ที่มีความสวยงามของชายหาดและไม่มีผู้คนพลุกพล่าน หาดปึกเตียนตั้งอยู่ในอำเภอท่ายาง ห่างจากหาดเจ้าสำราญ ไปทางทิศใต้ประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นหาดที่ขาวสะอาดและกว้างขวางมาก
เขาทะโมน เป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวที่ชอบปีนเขาชมถ้ำไม่ควรพลาดไปชมมีลักษณะเป็น ลูกเขา ขนาดเล็ก อยู่ในเขตตำบลท่าเสน อำเภอบ้านลาด มีถ้ำที่น่าชมคือ “ถ้ำพระยาแกรก” และถ้ำอื่นๆ อีกหลายถ้ำ ที่ยอดเขานั้นมีพระพุทธบาทจำลองประดิษฐานอยู่
เขาย้อย อยู่ก่อนถึงตัวเมืองเพชรบุรีประมาณ 15 กิโลเมตรที่นี่มีถ้ำหลายถ้ำ สิ่งสำคัญที่อยู่ภายในถ้ำคือพระพุทธไสยาสน์และพระพุทธบาทจำลอง ติดกับเขาย้อยคือบ้านดอนทรายซึ่งมีดอกไม้สวยงามน่าชมมาก
ถ้ำเขาหลวง อยู่ห่างจากเขาวังประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นเขาลูกขนาดเล็กยอดสูงเพียง 92 เมตร แต่มีถ้ำขนาดใหญ่สวยงามและสำคัญที่สุดของจังหวัดเพชรบุรีภายในถ้ำเป็นเหมือนห้องโถงใหญ่ มีแสงสว่างจากปากช่องบนเพดานถ้ำ รอบห้องโถงของถ้ำนั้นทีพระพุทธรูปใหญ่น้อยประดิษฐานอยู่มากมาย นอกจากนี้ยังมี หินงอกหินย้อยธรรมชาติสวยงามตระการตาเป็นอย่างยิ่ง
เขื่อนแก่งกระจาน อยู่ในเขตอำเภอแก่งกระจาน ห่างจากตัวเมืองเพชรบุรีประมาณ 53 กิโลเมตร เป็นเขื่อนดินแห่งแรกของประเทศไทย สร้างขึ้นกั้นแม่น้ำเพชรบุรีทำให้เป็นทะเลสาบกว้างใหญ่ และอาจกล่าวได้ว่าเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย การเดินทาง เส้นทางแรกไปทางอำเภอท่ายาง
ต่อไปประมาณ 30 กิโลเมตร ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งไปตามทางหลวงหมายเลข 5 ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 186 มีทางแยกขวา เข้าไปอีกประมาณ 30 กิโลเมตร
อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ภายในอุทยานฯ นี้ มีจุดที่น่าสนใจหลายแห่ง ทั้งที่เป็นทะเลสาบกว้างใหญ่ประมาณ 45 ตารางกิโลเมตร และความสงบในท่ามกลางความงดงามของหินผาบริเวณป่าสนเขาธรรมชาติเป็นจุดชมวิวที่สร้างความประทับใจสำหรับคนที่รัก ธรรมชาติ
เขาพะเนินทุ่ง เป็นยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 1,027 เมตร ที่ยอดเขาเป็นทุ่งหญ้า ในตอนเช้าตรู่จะมีทะเลหมอกปกคลุมทั่วไป ห่างจากเขาพะเนินทุ่งออกไปประมาณ 15 กิโลเมตร มีน้ำตกทอทิพย์เป็นน้ำตกที่มีความสูงถึง 9 ชั้น
ชายทะเลอำเภอบ้านแหลม บางตะบูน บางแก้ว บางขุนไทร เป็นชายทะเลอำเภอบ้านแหลม สภาพชายฝั่งเป็นหาดโคลน เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงหอยแครงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่ตำบลบางตะบูน มีการเก็บหอยแมลงภู่และหอยชนิดอื่นๆ ที่ตำบลบางขุนไทร ส่วนที่ชายทะเลตำบลบางแก้วมีเศษเปลือกหอยหรือ “กระซ้า” จำนวนมาก นำไปป่นขายเป็นอาหารสัตว์ได้ ชายทะเลอำเภอบ้านแหลมเหมาะสำหรับการพักผ่อนหาประสบการณ์
ในสิ่งแปลกใหม่
แหลมหลวง มีลักษณะเป็นปลายแหลมของหาดทราย ยื่นยาวออกไปในทะเลประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นชายทะเลภาคใต้แห่งเดียวที่สามารถชมได้ทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก เป็นแหลมทรายที่ยาวที่สุดของประเทศ ได้ชื่อว่าเป็นทรายเม็ดแรกของอ่าวไทย ตั้งอยู่ในตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม ห่างจากตัวเมืองเพชรบุรีไป 15 กิโลเมตร บนเส้นทางเดียวกับหาดเจ้าสำราญ โดยแยกซ้ายก่อนถึงหาดเจ้าสำราญเล็กน้อย
คอชะออม เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน เป็นที่พักผ่อนของชุมชนริมแม่น้ำเพชรบุรีบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำหน้าเขื่อนเพชร เหมาะสำหรับพาครอบครัว และเพื่อนฝูง ไปนั่งพักผ่อนเด็กๆ สามารถเล่นห่วงยางในแม่น้ำได้อย่างปลอดภัย เพราะน้ำตื้น
น้ำตกแม่กระดังลา เป็นน้ำตกที่มีความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ มีน้ำตลอดทั้งปี การเดินทางเข้า เที่ยวชมสะดวก ห่างจากเส้นทางหลัก (เพชรเกษม) ประมาณ 30 กิโลเมตร ซึ่งใช้เส้นทางเดียวกันกับน้ำพุร้อน
หนองหญ้าปล้อง ระยะทางเลยน้ำพุร้อนไป 7 กิโลเมตร ถ้าเดินทางหน้าฝน ต้องใช้รถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ เนื่องจากเส้นทางมีน้ำไหลผ่านถนนเป็นระยะๆ
l แหล่งศึกษางานด้านศิลปะและวัฒนธรรม
ด้านสถาปัตยกรรม
ปรางค์วัดกำแพงแลง อยู่ในเขตอำเภอเมือง เป็นโบราณสถานที่สร้างด้วยศิลาแลงฉาบปูน ประดับด้วยลายปูนปั้นลักษณะทางด้านศิลปกรรมไม่ว่าที่ปรางค์หรือปราสาท ล้วนแต่แสดงถึงรูปทรงและ วัตถุของสถาปัตยกรรมแบบบายน ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปที่ชื่อว่า
“หลวงพ่อเพชร”
โบสถ์วัดกุฏิบางเค็ม วัดกุฏิตั้งอยู่เกือบถึงอำเภอเขาย้อย ตัวโบสถ์เป็นไม้มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาโบสถ์ไม้ที่มีอยู่ในจังหวัดเพชรบุรี เฉพาะส่วนที่กั้นฝามีขนาดยาว 7 ห้อง กว้าง 3 ห้อง และมีมุขลดยื่นออกไปด้านหน้าและด้านหลังด้านละ 1 ห้องและทำเป็นพาไลอีก 1 ห้องโดยรอบอาคารหน้าบันจำหลักไม้และฝาแกะสลักไม้ซึ่งมีทั้งหมด 20 แผง ถือว่าเป็นโบสถ์ที่มีฝาแกะสลักไม้ทั้งหลังเพียงแห่งเดียวเท่านั้น
ศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณาราม ลักษณะเป็นอาคารไม้ที่สร้างในสมัยอยุธยามีขนาดใหญ่ประมาณ 10 ห้อง มีเสาแปดเหลี่ยมเรียงกัน 4 แถวๆละ 11 ต้น รวม 44 ต้น ในศาลามีธรรมาสน์ยอด 2 หลัง
หลังหนึ่งเป็นฝีมือช่างปัจจุบันส่วนอีกหลังหนึ่งมีสภาพชำรุดใช้การไม่ได้แล้วสร้างโดยช่างที่เป็นยอดฝีมือครั้งอยุธยา ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงชมว่างามเหลือพรรณนา เล่ากันว่าศาลานี้เดิมเป็นพระตำหนักของพระเจ้าเสือ แต่ได้พระราชทานให้สมเด็จพระสังฆราชแตงโมนำมาปลูกสร้างเป็นศาลาการเปรียญของวัด และสิ่งหนึ่งไม่สามารถ
หาชมได้ง่ายนักในปัจจุบัน ก็คือ “หอไตรกลางน้ำ” เป็นหอไตรสามเสา ปลูกลงในสระน้ำ มีลักษณะเป็นเรือนไทย ฝากระดาน 2 ห้อง หลังคามุงกระเบื้องดินเผา ไม่มีกันสาด ใช้เป็นที่เก็บพระไตรปิฎก
พระอุโบสถวัดมหาสมณาราม วัดมหาสมณารามหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “วัดเขาวัง” มีพระอุโบสถเป็นอาคารทรงไทยขนาดกลาง หลังคาซ้อนสองชั้นมุงด้วยกระเบื้องเคลือบ มีช่อฟ้าใบระกาและหางหงส์เป็นที่งดงามยิ่ง หน้าบันมีภาพลายปูนปั้นเป็นสัญลักษณ์ของรัชกาลที่ 4 เป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ ตรงด้านหน้าและด้านหลังของพระอุโบสถ ทำเป็นศาลาขวางอยู่ชิดตัวกับตัวโบสถ์ ผนังก่อด้วยอิฐฉาบปูนทำเป็นช่องโค้งแหลม ลักษณะอย่างซุ้มประตูและที่แปลกตาก็คือ ใบเสมาหินอ่อนสลักลวดลายเป็นรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งเป็นแบบที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 4
สถาปัตยกรรมพระนครคีรี เป็นสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบนิโอคลาสสิกผสมกับสถาปัตยกรรม
แบบจีน
อุทยานสวรรค์แก่งกระจาน เป็นอุทยานทางศาสนา ประกอบด้วย ประติมากรรมปูนปั้นพระพุทธรูปปรางค์ต่างๆ โดยเฉพาะองค์เจ้าแม่กวนอิมปางพันมือ ซึ่งแกะสลักจากไม้ ซึ่งเป็นไม้มีกลิ่นหอมจากเมืองจีนและเป็นปรางค์แกะจากไม้หอมใหญ่ที่สุดในโลก อีกทั้งมีประวัติการจุติขององค์พระโพธิสัตว์อีกหลายพระองค์ ซึ่งมีแสดงไว้ในอุทยาน
ด้านประติมากรรม
ปูนปั้นวัดไผ่ล้อม ปูนปั้นหน้าบันโบสถ์วัดไผ่ล้อม มีลวดลายให้ชมด้านเดียวกันสองหน้าบัน
ปั้นเป็นภาพปราสาท 7 ชั้น ศาลา เชิงผา ภูเขา ต้นไม้ และภาพพระพุทธรูปปางต่างๆ ฝีมือการปั้นยอดเยี่ยมมาก ภาพปูนปั้นผนังด้านนี้เมื่อต้องแสงจะทำให้เกิดเงาสลับซับซ้อนดูลุ่มลึกลดหลั่นเป็นชั้นช่อง แสดงถึงความเป็นเลิศ
ในแนวคิดและฝีมือช่างอย่างหาที่เปรียบมิได้
ปูนปั้นวัดใหญ่สุวรรณาราม เป็นรูปแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย สังเกตจากลวดลายกนกอ่อนพลิ้วแตกก้านแตกช่อ ออกลายประสานกลมกลืนกัน ภาพประกอบมักนิยมเป็นรูปครุฑ รูปนารายณ์ทรงครุฑและ
รูปนารายณ์เหยียบบ่าอสูรเป็นส่วนมาก
ปูนปั้นวัดเขาบันไดอิฐ หน้าบันโบสถ์ด้านทิศตะวันออกมีศิลปะปูนปั้นเต็มหน้าบัน ปั้นเป็นรูปครุฑ ประกอบด้วยลายพุ่มปลายสะบัดดังเปลวไฟ ถัดจากลายพุ่มเป็นลายกนกก้านขดช่อหางโตพื้นประดับกระจก
ปูนปั้นฐานเสมาวัดสระบัว ฐานเสมาชั้นล่างเป็นภาพยักษ์แบกไม้มือดันฐานเสมาชั้นบนส่วนด้านข้างและด้านหลังปั้นเป็นคนพวกสิบสองภาษา สำหรับด้านหน้าโบสถ์ปั้นเป็นรูปพวกอมนุษย์
ปูนปั้นวัดมหาธาตุวรวิหาร ปูนปั้นที่วิหารหลวงวัดนี้งามเด่นสง่าเป็นที่ตื่นตาตื่นใจยิ่งนัก เป็นฝีมือชั้นครูในสมัยรัตนโกสินทร์ของชาวเพชรบุรี
ปูนปั้นวัดพลับพลาชัย มีลายปูนปั้นที่ซุ้มประตูทางซ้ายมือเป็นภาพหนุมานเข้าห้องนางวารินทร์ ส่วนซุ้มทางขวามือเป็นภาพวิรุญจำบังลม
ปูนปั้นวัดปากคลอง เป็นงานปูนปั้นที่แสดงให้เห็นถึงฝีมือและชั้นเชิงของช่างโดยเฉพาะภาพเทพพนมและลายดอกไม้และที่น่าทึ่งก็คือ การลงสีในงานปูนปั้นซึ่งทำได้งดงามน่าชมยิ่งนัก
ใบเสมาวัดมหาธาตุวรวิหาร เป็นใบเสมาคู่ทำด้วยหินทรายแดง บนแท่นสูง 120 ซ.ม.จำหลักลวดลายเต็มทั้งแผ่น มีซุ้มเสมาแบบกูบช้าง ลายที่ฐานเสมาแกะสลักเป็นรูปดอกไม้เรียงกัน
ด้านจิตรกรรม
จิตรกรรมฝาผนังวัดใหญ่สุวรรณาราม มีลักษณะเป็นภาพเขียนเต็มผนัง ซึ่งบางส่วนลบเลือน เกือบหมดแต่ยังพอเห็นร่องรอยของความงดงามได้ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี กล่าวว่า “ช่างที่อยู่ในสมัยที่ภาพเขียนเจริญถึงขีดสุดเท่านั้น จึงจะสามารถวาดภาพจิตรกรรมที่งดงามเช่นนี้ได้”
จิตรกรรมฝาผนังวัดเกาะแก้วสุทธาราม
จิตรกรรมฝาผนังวัดท้ายตลาด ในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมเต็มผนังด้านหน้าพระประธาน ผนังเหนือบานประตูจรดเพดาน เขียนเป็นภาพวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
จิตรกรรมสมุดข่อยวัดพระรูป “สมุดข่อยหรือสมุดไทย” เป็นหนังสือที่ใช้กระดาษแผ่นเดียวยาว ติดต่อกันไปตลอดเล่มด้วยการพันกลับไปกลับมาเป็นเล่ม ซึ่งจะมีความหนา กว้าง หรือบางเท่าใดก็ได้แล้วแต่ความต้องการ สามารถเขียนภาพ ประกอบทั้งที่เป็นลายเส้น และเป็นภาพระบายสีประเภทจิตรกรรมลงไปด้วย
l แหล่งศึกษาทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์
พระราชวัง
พระราชวังบนพระนครคีรี “เขาวัง” เป็นพระราชวังที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้น ตั้งอยู่บนเขาที่มียอดสูงประมาณ 92 เมตร ริมถนนเพชรเกษมในเขตเทศบาล
เมืองเพชรบุรี พระนครคีรีมีพระที่นั่งและกลุ่มอาคารตั้งอยู่บนยอดเขาใหญ่ 3 ยอด กรมศิลปากรได้บูรณะปรับปรุงอาคารของพระราชวังด้านทิศตะวันตก และจัดตั้งเป็น “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี” และได้ประกาศให้พื้นที่ทั้งหมดเป็น “อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี”
พระรามราชนิเวศน์ “วังบ้านปืน” เป็นพระราชวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้นตามแบบสถาปัตยกรรมยุโรป โดยย่อส่วนมาจากพระราชวังฤดูร้อนของพระเจ้าวิลเฮล์มไกเซอร์
แห่งเยอรมนี การก่อสร้างแล้วเสร็จในสมัยสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้พระราชทานนามว่า “พระที่นั่งศรเพ็ชรปราสาท” ต่อมาทรงเปลี่ยนเป็นพระรามราชนิเวศน์
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เป็นพระตำหนักที่ประทับริมทะเล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้รื้อ พระตำหนักหาดเจ้าสำราญมาปลูกขึ้นใหม่ที่อำเภอชะอำ มีลักษณะเป็นอาคารไม้ หลังคาทรงปั้นหยามุงกระเบื้องสี่เหลี่ยมใต้ถุนสูง ประกอบด้วยพระที่นั่งใหญ่ 3 องค์ ตัวอาคารเป็นไม้หันหน้าเรียงขนานไปกับชายทะเล มีสะพานเป็นทางเดินเชื่อมระหว่างตำหนักแต่ละหลังและทางเดินไปสู่ทะเลได้ ได้รับขนานนามว่า “พระราชนิเวศน์แห่งความรักและความหวัง”
วัด
วัดเขาบันไดอิฐ อยู่ห่างจากเขาวังประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นสำนักวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงมาตั้งแต่สมัยอยุธยาบนเขาบันไดอิฐมีถ้ำเล็กใหญ่หลายคูหาอยู่ลึกลงไปใต้เขา ได้แก่ ถ้ำประทุน ถ้ำพระเจ้าเสือ และถ้ำพระพุทธไสยาสน์ เป็นต้น
วัดกำแพงแลง วัดนี้เดิมเป็นเทวสถานในสมัยขอมสร้างตามลัทธิศาสนาพราหมณ์ เทวสถานที่สร้าง ขึ้นเดิมมีปรางค์ 5 หลัง ทำด้วยศิลาแลง ปัจจุบันเหลือเพียง 4 หลัง ต่อมาเมื่ออิทธิพลของศาสนาพุทธแผ่ขยายเข้ามา จึงได้แปลงเทวสถานแห่งนี้เป็นศาสนาสถานในพุทธศาสนา
วัดท่าไชยศิริ เป็นวัดตั้งแต่สมัยอยุธยาเรียกกันว่า “วัดใต้” ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเพชรบุรี น้ำตกบริเวณท่าน้ำของวัดนี้เชื่อกันว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ และเป็นน้ำที่นำไปใช้ประกอบพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก
ของพระมหากษัตริย์ตามโบราณราชประเพณี
วัดมหาธาตุวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเพชรบุรี มีการแบ่งเขตพุทธวาส ออกจากสังฆวาส ภายในวัดมีพระปรางค์ห้ายอดซึ่งสันนิษฐานว่าคงจะเป็นพระเจดีย์ห้ายอดเช่นเดียวกับที่เมืองนครศรีธรรมราชแล้วมาดัดแปลงเป็นพระปรางค์ในสมัยหลังที่น่าสนใจคือมีภาพปูนปั้น ซึ่งเป็นฝีมือช่างเมืองเพชร
ที่หาดูได้ยาก
วัดใหญ่สุวรรณาราม เป็นวัดเก่าแก่มีศาลาการเปรียญเป็นศาลาหลังยาวเสาแปดเหลี่ยม ประตูจำหลักไม้ลายก้านขดปิดทอง ในพระอุโบสถมีรูปหล่อของสมเด็จพระสังฆราช (แตงโม) ซึ่งเป็นผู้ปฏิสังขรณ์วัดนี้ ประดิษฐานไว้ที่หน้าพระประธาน
วัดกุฏิ เป็นวัดในสมัยอยุธยา มีพระอุโบสถ สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง
วัดเขาตะเครา เป็นวัดอยู่ในอำเภอบ้านแหลมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยสูง 29 นิ้ว หน้าตักกว้าง 21 นิ้ว เรียกกันว่า “หลวงพ่อเขาตะเครา”
วัดสระบัว เป็นวัดตั้งอยู่เชิงเขาวังด้านตรงข้ามกับวิหารพระพุทธไสยาสน์
วัดเกาะแก้วสุทธาราม เป็นวัดในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีธรรมาสน์ที่เป็นงานไม้แกะสลักชั้นเยี่ยมที่ฝีมือละเอียดประณีตงดงาม
วัดในกลาง เป็นวัดเก่าแก่มีอายุไม่น้อยกว่า 250 ปี เป็นวัดที่ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสร้างเพื่อถวายพระราชกุศลแด่พระมารดาซึ่งเป็นคนบ้านแหลม เจดีย์ อุโบสถแบบมหาอุด กุฏิ ศาลาการเปรียญ หอระฆัง เป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย
วัดมหาสมณารามราชวรวิหาร หรือ วัดเขาวัง ตั้งอยู่บนไหล่เขาด้านทิศตะวันออกในพระอุโบสถ มีภาพเขียนของขรัว อินโข่ง ช่างเขียนที่มีชื่อเสียงโด่งดังของเพชรบุรีฝากฝีมือไว้สวยงามมาก ตามผนังและเสาของพระอุโบสถ
วัดพระพุทธไสยาสน์ หรือ วัดพระนอน สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
มีพระพุทธรูปนอนขนาดใหญ่องค์หนึ่งในจำนวน 4 องค์ ที่มีอยู่ในเมืองไทย มีความยาวถึง 43 เมตร ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทองเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามยิ่ง
วัดเพชรพลี เดิมชื่อวัด พริบพลี เป็นวัดที่ 9 ที่สร้างขึ้นในเมืองไทย มีความสำคัญต่อประวัติ
ยุคแรกของพุทธศาสนาในไทยจากจารึกลายสือไทย ในกระเบื้องจารและแผ่นหินทรายที่ขุดได้จากวัดพริบพลี
วัดคงคารามวรวิหาร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงปฏิสังขรณ์แล้วสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง
วัดเนรัญชราราม ได้รับการตั้งให้สอดคล้องกับชื่อวังมฤคทายวันซึ่งสร้างโดยรัชกาลที่ 6
ตามเรื่องราวในพุทธประวัติเกี่ยวกับแม่น้ำเนรัญชราและป่าอิสิปตนมฤคทายวัน มีพระอุโบสถลักษณะทรงอินเดีย ซึ่งไม่ค่อยพบเห็นในประเทศไทย
แหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวที่น่าสนใจในจังหวัดเพชรบุรี
1. โครงการตามพระราชประสงค์หุบกะพง
2. โครงการตามพระราชประสงค์ดอนขุนห้วย
3. โครงการจัดการพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์หนองพลับ-กลัดหลวง
4. โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ ป่าเด็ง-ป่าละอู
5. โครงการดูแลรักษาป่าไม้บริเวณป่าละอูบนและเขาพะเนินทุ่งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
6. โครงการพัฒนาห้วยแม่เพรียงตามพระราชดำริ
7. โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
8. โครงการสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
9. โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
10. โครงการที่ดินของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ บ้านท่ากะทุ่ม
11. โครงการศูนย์สาธิตพืชไร่และพืชสวนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
12. โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพพื้นที่บริเวณเขานางพันธุรัต (เขาเจ้าลายใหญ่) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
13. โครงการอ่างเก็บห้วยแม่ประจันต์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
14. โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยผากอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
15. โครงการเครือข่ายอ่างเก็บน้ำ (อ่างพวง)อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
16. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบริเวณมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี (งานขุดลอกอ่างเก็บน้ำหนองจิก)
17. โครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยสงสัยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
18. โครงการป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
19. โครงการอ่างเก็บน้ำผาน้ำหยดอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
20. โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนบ้านบางกลอยและบ้านโป่งลึก
21. โครงการฟาร์มทะเลตัวอย่างแบบผสมผสานตามพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
22. โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ
23. อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
24. โครงการปลูกป่าชัยพัฒนา - แม่ฟ้าหลวง
25. โครงการจัดตั้งโรงงานสกัดน้ำมันพืชและผลิตไบโอดีเซลครบวงจร
กิจกรรมที่น่าสนใจ ประกอบด้วย สนามกอล์ฟ , ATV , ศึกษาดูงานอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร, และศึกษาดูงานในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ