สภาพทางสังคม อบจ.เพชรบุรี

Ÿ กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเพชรบุรี

          ประชากรในจังหวัดเพชรบุรีมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์อันเป็นลักษณะเด่นของจังหวัดที่สืบทอดมาแต่โบราณกาล ทั้งนี้เพราะสภาพภูมิประเทศที่มีพร้อมทั้ง ทะเล ภูเขา  และมีแม่น้ำเพชรบุรีเป็นแหล่งน้ำสำคัญซึ่งเหมาะกับการประกอบอาชีเกษตรกรรม จังหวัดเพชรบุรีบุรีจึงประกอบด้วยชนหลายเชื้อชาติ แต่ละเชื้อชาติมีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรมและประเพณี ประชากรของจังหวัดราชบุรีเท่าที่สืบค้นได้ในปัจจุบัน แบ่งตามสายเชื้อชาติได้ดังนี้

1. คนไทยภาคกลางพื้นถิ่น

          คนไทยภาคกลางพื้นถิ่นที่จังหวัดเพชรบุซึ่งเป็คนส่วนใหญ่ของจังหวัดประกอบอาชีพเกษตรกรรมและทำการประมงเป็นหลัก

 

2. ผู้ไทดำ หรือไทยทรงดำ

          เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทยที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแคว้นสิบสองจุไทหรือเมืองแถนหรือเดียนเบียนฟู ประเทศเวียดนาม ในปัจจุบัน ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในแถบแม่น้ำดำและแม่น้ำแดง ปัจจุบันอยู่ในเขตเวียดนามเหนือตอนเชื่อมต่อกับลาวและจีนตอนใต้ ผู้ไทดำหรือไทยทรงดำมีชื่อเดิมเรียกกันว่า ไทดำ (Black Tai)หรือ ผู่ไต๋ดำ เพราะนิยมใส่เสื้อดำล้วน ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มคนไทที่อยู่ใกล้เคียงกัน เช่น “ไทขาว”หรือ(White Tai) นิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาวและไทแดง หรือ(Red Tai) ชอบใช้สีแดงขลิบและตกแต่งชายเสื้อสีดำเป็นต้น ไทดำกลุ่มนี้ได้ถูกกวาดต้อนเข้ามาในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น คนไทยภาคกลางเรียกกันว่า “ลาวทรงดำ” เพราะเข้าใจว่าเป็นพวกเดียวกับลาวและอพยพมาพร้อมกับลาวกลุ่มอื่น ๆต่อมาชื่อเดิมได้หดหายลง คำว่า”ดำ” หายไปนิยมเรียกกันในปัจจุบันว่า”ลาวทรง”หรือ “ลาวโซ่ง” ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเขาย้อย

          

3.ชาวไทยพวน

          บรรพบุรุษของคนไทยพวน ที่มาบปลาเค้า อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เคยตั้งถิ่นฐานอยู่เมืองพวน เชียงขวาง ประเทศลาว แล้วถูกกวาดต้อนเข้ามาในไทยตั้งแต่ในสมัยกรุงธนบุรี บางส่วนกระจายตัวตั้งรกรากอยู่ในจังหวัดอื่น ๆ

 

4. ชาวกะเหรี่ยง – กะหร่าง

          กะเหรี่ยงมีอยู่ ๒ กลุ่มในไทยคือกะเหรี่ยงสะกอและกะเหรี่ยงโปว์ ส่วนใหญ่จะพบกะเหรี่ยงสะกออยู่เพียงไม่กี่หมู่บ้านในเขตภาคกลางและภาคตะวันตก แต่ก็มีให้พบได้บ้างที่ป่าละอูและบางพื้นที่ในเขตจังหวัดเพชรบุรีที่ซึ่งกะเหรี่ยงสะกอถูกเรียกว่า กะหร่าง ในขณะที่เรียกกะเหรี่ยงโปว์ว่า กะเหรี่ยง อาศัยอยู่ในเขตอำเภอแก่งกระจานไปทางตะวันตกประมาณ ๗๐-๘๐ กิโลเมตร มีหมู่บ้านขนาดกลางหมู่บ้านหนึ่งที่มีประชากรชาวกะเหรี่ยงสะกอประมาณ ๔๐๐ คนใช้เป็นภูมิลำเนา หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่บนภูเขา เป็นหมู่บ้านสุดท้ายของชายแดนไทยทางตะวันตกโดยพื้นที่ดังกล่าวนับว่าเป็นพื้นที่ที่มีชาวกะเหรี่ยงอาศัยอยู่มาก ชนเผ่านี้ยังยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมและรักษาสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ ประเพณีข้าวกะเหรี่ยงนี้เป็นประเพณีเกี่ยวกับการเรียกขวัญ หรือรับขวัญของบุคคลในครอบครัวที่ได้แยกย้ายกันไปทำมาหากินอยู่ที่อื่น

Thai Arabic Chinese (Traditional) English Filipino French German Japanese Korean Vietnamese





























QR Code
อบจ.เพชรบุรี

EIT
 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

























ลิขสิทธิ์ © 2560 องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี โทร 0-3242-5987